Tag Archives: วันสำคัญทางศาสนา

5 สิ่งจำเป็นต่อพระช่วงวันเข้าพรรษา

    1. เทียนพรรษา  ของใช้จำเป็นสิ่งแรกที่ขาดไม่ได้เลยในวันเข้าพรรษา ก็คือ เทียนพรรษา ที่มีขนาดเล่มใหญ่กว่าเทียนทั่วไปปกติ และมีให้เลือกหลายขนาดและหลายลวดลาย แต่ก็อย่าลืมถวายธูปเทียนขนาดปกติไปด้วยนะครับ ส่วนนี้สามารถใช้ได้ทั้งปีเลย ภาพประกอบจาก toshibalight.com 2. หลอดไฟ ไฟฉาย อุปกรณ์ไฟฟ้า  ของจำเป็นชิ้นต่อมา สมัยก่อนอาจจะไม่จำเป็นนัก แต่สมัยนี้เชื่อว่าเกือบทุกวัดไฟฟ้าเข้าถึงแล้วแน่นอน นั่นก็คือ หลอดไฟ แนะนำให้ซื้อแบบประเภทประหยัดไฟ และหลอดไฟขนาดมาตราฐาน แบบไม่ต้องเน้นทรวดทรงให้มากเดี๋ยวพระท่านจะไม่ได้ใช้กันพอดี อาจจะพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างเช่น บัลลาส สตาร์ทเตอร์ เผื่อไฟเสียจะได้เปลี่ยนเลย หรือพวกไฟฉายอย่าลืมจัดถ่านไปด้วยนะครับ 3. ยาสามัญประจำบ้าน  แน่นอนว่า หน้าฝน สภาพอากาศแปรปรวน เดี๋่ยวฝนตกเดี๋ยวแดดออก ก็อาจจะถวายเซตยาสามัญประจำวัดให้พระท่านด้วย แนะนำว่า ก่อนซื้อสังฆทานประเภทกล่องยา อย่าลืมดู อย. จะได้อุ่นใจว่ายาใช้ได้จริงๆ หรือถ้าไม่แน่ใจก็เดินเข้าร้านขายยา ให้คุณเภสัชประจำร้านจัดให้ซัดเซตใหญ่ๆ ก็ได้ครับ เช่น ยาหม่อง ยาลม ยาอม ยาแก้ปวดท้อง แก้หวัด ยาแดง พลาสเตอร์ยา ยากันยุงต่างๆ ก็ว่ากันไป ภาพประกอบจาก pumpuibrand.com 4. […]

วันทอดกฐิน ๑ ปีจะมีเพียงครั้งเดียว

ช่วงเวลาที่มีประเพณีทอดกฐิน ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้ ความสำคัญของประเพณีทอดกฐิน เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และไทยธรรมเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ คำว่า กฐิน ตามภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกไม่มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรต้องเย็บหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนคันนาจึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้า ฉะนั้น ผ้าที่ทำด้วยไม้สะดึงเพื่อการนี้โดยเฉพาะจึงเรียกว่า ผ้าเพื่อกฐิน และยังเรียกผ้ากฐินตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่ามีผ้าสำเร็จรูปทำเพื่อทอดกฐินโดยไม่ได้อาศัยไม้สะดึงก็ตาม แต่เดิมกฐินเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาเองจากที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุลและนำผ้านั้นมาเย็บย้อมเอง ต่อมาราษฎรมีจิตศรัทธานำผ้ามาถวายในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้รับผ้าจาก ราษฎรได้และเมื่อทรงอนุญาตให้กรานกฐินจึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรบำเพ็ญกุศลด้วย การทอดกฐิน โดยนัดแนะกับพระ พระจัดการต้อนรับดังนี้เป็นต้น คำว่า ทอด คือ เอาไปวางไว้ การทอดกฐิน จึงหมายถึงการนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ ผลจากการทอดกฐินทำไมถึงได้บุญเยอะ  เพราะการทอดกฐินเป็นการทำบุญที่ถูกจำกัดหลายประการ  เช่น  จำกัดด้วยกาลเวลา คือ ผู้ถวายกฐินต้องถวายภายในกำหนด ๑ เดือน  นับตั้งแต่วันออกพรรษา […]

วันเข้าพรรษา 25560

วันเข้าพรรษา 25560 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม วันนี้เรามี ประวัติวันเข้าพรรษา ความสำคัญและกิจกรรมมาฝาก  9 กรกฎาคม 2560 คือวันสำคัญทางพุทธศาสนานั่นก็คือ “วันเข้าพรรษา” ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง ประวัติวันเข้าพรรษา “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า “ปุริมพรรษา” ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น […]

อาสาฬหบูชา

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชานับเป็นวันสำคัญที่มีเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ ได้เกิดขึ้นในครั้งอดีตสมัยพุทธกาล คือ เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาเป็นครั้งแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้ามรูป อีกทั้งเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้พระสาวกองค์แรก นั่นคือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรกนั่นเอง รวมทั้งนับเป็นวันที่มีพระสงฆ์รูปแรก โดยพระอัญญาโกญฑัญญะเมื่อได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันแล้ว ได้ทูลขออุปสมบทแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้ทรงประทานการบวชอุปสมบทแก่พระภิกษุเป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนาของเรา และเป็นวันที่เกิดพระรัตนตรัยครบองค์สาม ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเมื่อครั้งพุทธกาลหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้ตรัสรู้ได้ 2 เดือน พระองค์ได้แสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระอัสสชิ, พระมหานามะ และพระภัททิยะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แห่งเมืองพาราณสี แคว้นมคธ โดยใช้ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม เมื่อทรงเทศนาจบพระอัญญาโกณฑัญญะได้ประจักษ์แจ้งถึงดวงตาเห็นธรรมจึงได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และได้อุปสมบทโดยพระพุทธเจ้าเป็นพระองค์แรก โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนในเรื่องของมัชฌิมาปฏิปทา หรือการเดินตามหลักทางสายกลาง ที่ไม่สร้างความลำบากให้แก่ตนเอง และไม่หมกมุ่นอยู่ในความสุขทางกายจอมปลอม หรือหลงมัวเมาอยู่ในรูปรสกลิ่นเสียงนั่นเอง และในการดำเนินชีวิตด้วยปัญญาพระองค์จึงได้ทรงให้หลักธรรมที่เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 หรืออริยอัฏฐังคิกมัคค์ และอริยสัจ 4 เพื่อให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ และไม่หลงมัวเมาอยู่กับต้นเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง