วันทอดกฐิน ๑ ปีจะมีเพียงครั้งเดียว

ช่วงเวลาที่มีประเพณีทอดกฐิน

ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้

ความสำคัญของประเพณีทอดกฐิน

เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และไทยธรรมเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์
คำว่า กฐิน ตามภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกไม่มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรต้องเย็บหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนคันนาจึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้า ฉะนั้น ผ้าที่ทำด้วยไม้สะดึงเพื่อการนี้โดยเฉพาะจึงเรียกว่า ผ้าเพื่อกฐิน และยังเรียกผ้ากฐินตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่ามีผ้าสำเร็จรูปทำเพื่อทอดกฐินโดยไม่ได้อาศัยไม้สะดึงก็ตาม

แต่เดิมกฐินเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาเองจากที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุลและนำผ้านั้นมาเย็บย้อมเอง ต่อมาราษฎรมีจิตศรัทธานำผ้ามาถวายในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้รับผ้าจาก ราษฎรได้และเมื่อทรงอนุญาตให้กรานกฐินจึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรบำเพ็ญกุศลด้วย การทอดกฐิน โดยนัดแนะกับพระ พระจัดการต้อนรับดังนี้เป็นต้น คำว่า ทอด คือ เอาไปวางไว้ การทอดกฐิน จึงหมายถึงการนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ

ผลจากการทอดกฐินทำไมถึงได้บุญเยอะ

 เพราะการทอดกฐินเป็นการทำบุญที่ถูกจำกัดหลายประการ  เช่น  จำกัดด้วยกาลเวลา คือ ผู้ถวายกฐินต้องถวายภายในกำหนด ๑ เดือน  นับตั้งแต่วันออกพรรษา อีกทั้งภายใน ๑ ปี วัด ๆ หนึ่ง สามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว และถ้าหากวัดนั้นมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ครบ ๓ เดือน และมีพระจำพรรษาอยู่ไม่ถึง ๕ รูป วัดนั้นก็รับกฐินไม่ได้ อีกทั้งเมื่อรับกฐินแล้วก็ต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันเดียวกับที่รับผ้ากฐินนั้นด้วย
        

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *